ความสัมพันธ์กับแนวคิดอื่น ๆ ของ การครุ่นคิด_(จิตวิทยา)

ความครุ่นคิด (Rumination) คล้ายกันหรือเหลื่อมกันกับแนวคิด/โครงสร้างอื่น ๆ เช่น ความกลุ้มใจ (Worry) และความคิดเชิงลบอัตโนมัติ (negative automatic thought)

ความกลุ้มใจ

ความครุ่นคิดปรากฏว่าสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความกลุ้มใจ (Worry) โดยสามารถนิยามความกลุ้มใจได้ว่า "ลูกโซ่ของความคิดและจินตภาพ ที่เต็มไปด้วยอารมณ์เชิงลบ และค่อนข้างควบคุมไม่ได้ เป็นการพยายามแก้ปัญหาในใจเกี่ยวกับประเด็นที่มีผลไม่แน่นอน แต่มีโอกาสที่จะมีผลลบอย่างน้อยหนึ่งอย่างหรือมากกว่านั้น"[11][27]มีการเปรียบเทียบความครุ่นคิดกับความกลุ้มใจ ซึ่งในทฤษฎีบางอย่าง ความครุ่นคิดเป็นรูปแบบหนึ่งของความกลุ่มใจ (เช่น S-REF)นอกจากนั้นแล้ว นักวิจัยหลายคนได้ให้ข้อสังเกตว่า มีความเกิดร่วมกันของโรค (comorbidity) สูงระหว่างโรควิตกกังวล (GAD) และโรคซึมเศร้า (MDD)คือ คนไข้ 60% ที่มีอาการของ GAD สามารถวินิจฉัยว่ามี MDD ด้วยการเกิดร่วมอย่างสำคัญเช่นนี้ทำให้มีวรรณกรรมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำระหว่างความครุ่นคิด ซึ่งบ่อยครั้งศึกษาในเรื่อง MDD กับความกลุ้มใจ ซึ่งบ่อยครั้งศึกษาในเรื่อง GAD

ค่าวัดของความครุ่นคิดและความกลุ้มใจมีสหสัมพันธ์สูง เหนือกว่าค่าวัดอาการความวิตกกังวลและความซึมเศร้า (r=.66; Beck & Perkins, 2001)ทั้งความครุ่นคิดและความกลุ้มใจเหลื่อมกันในความสัมพันธ์กับโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า แม้ว่าจะมีงานศึกษาที่แสดงความจำเพาะ (specificity) ของความครุ่นคิดกับโรคซึมเศร้าและความกลุ้มใจกับโรควิตกกังวลนอกจากนั้นแล้ว มีการพบว่า ความครุ่นคิดสามารถพยากรณ์ความเปลี่ยนแปลงของอาการซึมเศร้าและของอาการวิตกกังวล และคนไข้ MDD รายงานระดับความกลุ้มใจคล้ายกับคนไข้ GADดังนั้นโดยองค์รวมแล้ว งานวิจัยเหล่านี้แสดงว่า ความครุ่นคิดและความกลุ้มใจไม่ใช่แค่สัมพันธ์กันเท่านั้น เพราะแต่ละอย่างยังสัมพันธ์กับอาการของทั้งความซึมเศร้าและความวิตกกังวลอีกด้วย

มีงานศึกษาที่แสดงว่า เรื่องที่กลุ้มใจกับเรื่องที่ครุ่นคิดแตกต่างกันความกลุ้มใจบ่อยครั้งเป็นเรื่องการแก้ปัญหาและเกี่ยวกับอนาคต ในขณะที่ความครุ่นคิดมักจะเป็นเรื่องความสูญเสียและเกี่ยวกับอดีตความครุ่นคิด เมื่อเทียบกับความกลุ้มใจ สัมพันธ์กับความพยายามและความมั่นใจที่น้อยกว่าในการแก้ปัญหา[6]มีการเสนอว่า ความครุ่นคิดและความกลุ้มใจมีหน้าที่ต่างกัน คือ ความครุ่นคิดสัมพันธ์กับความเชื่อว่าตัวเองมีส่วนในสถานการณ์มากกว่าและจำเป็นต้องเข้าใจมากกว่า เทียบกับความกลุ้มใจที่สัมพันธ์กับความต้องการหลีกเลี่ยงความคิดที่ทำให้กลุ้มใจ (Watkins 2004b)ยังมีสมมติฐานอีกด้วยว่า ความกลุ้มใจเป็นเรื่องจินตนาการมากกว่าความครุ่นคิดแต่ว่าหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่ลงรอยกัน[28][29][30]ดังนั้น โดยทั่วไปแล้ว งานศึกษาเหล่านี้แสดงว่า ความกลุ้มใจและความครุ่นคิดเป็นแนวคิดที่สัมพันธ์กันและทั้งสองต่างก็นำไปสู่ความซึมเศร้าและความวิตกกังวลเป็นไปได้ว่า ความครุ่นคิดและความกลุ้มใจเป็นแบบการคิดซ้ำ ๆ ที่สัมพันธ์กัน และอาจจะชัดเจนกว่าถ้าจัดเป็นแบบย่อยของโครงสร้างที่ครอบคลุมแนวคิดทั้งสอง เช่น เป็นกลยุทธ์รับมือปัญหาแบบหลีกเลี่ยง (avoidant coping strategy)

ความคิดเชิงลบอัตโนมัติ

มีการเปรียบเทียบความครุ่นคิดกับความคิดเชิงลบอัตโนมัติ (negative automatic thoughts) ที่นิยามว่าเป็นความคิดซ้ำ ๆ ที่มีตีมเกี่ยวกับความสูญเสียหรือความล้มเหลวส่วนบุคคลตาม ศ. จิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยเยล (2004) เธอยืนยันว่า ความครุ่นคิด (ดังที่นิยามใน RST) ต่างจากความคิดเชิงลบอัตโนมัติ เพราะว่า ความคิดเชิงลบอัตโนมัติเป็นการประเมินแบบรวบรัด ถึงเรื่องความสูญเสียและความล้มเหลวในโรคซึมเศร้า ในขณะที่ความครุ่นคิดเป็นลูกโซ่ของความคิดที่ซ้ำ ๆ วนเวียน เป็นเรื่องลบ เกี่ยวกับตนเอง ที่อาจเกิดขึ้นโดยตอบสนองต่อความคิดเชิงลบอัตโนมัติในเบื้องต้น[31]เธอยังเสนอด้วยว่า ความครุ่นคิดอาจมีตีมเชิงลบที่พบในความคิดเชิงลบอัตโนมัตินอกเหนือไปจากการวิเคราะห์อาการ เหตุ และผลของความรู้สึกหนังสือปี 2004 ยังให้หลักฐานที่สนับสนุนข้อสรุปนี้ คือ นักเขียนพบว่า ความครุ่นคิดสามารถพยากรณ์ความซึมเศร้าแม้เมื่อควบคุมการคิดเชิงลบ (negative cognition) ซึ่งแสดงว่า แนวคิดทั้งสองไม่ใช่เรื่องเดียวกัน และมีคุณค่าการพยากรณ์ที่ต่างกัน[12]แต่แม้ว่า จะมีการอ้างว่า ความครุ่นคิดและความคิดเชิงลบอัตโนมัติเป็นเรื่องที่แตกต่างกัน แต่ว่า Response Style Questionnaire ก็ได้ถูกคัดค้านในประเด็นว่ามีส่วนเหลื่อมกับความคิดเชิงลบอัตโนมัติ

ใกล้เคียง

การครุ่นคิด (จิตวิทยา) การครอบงำกิจการสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด พ.ศ. 2564 การครองคู่ในสหราชอาณาจักร การครองราชย์ของจักรพรรดิญี่ปุ่น การครอบครองปรปักษ์ การครอบฟัน การครองราชย์ครบรอบแพลทินัมในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 การครองความเป็นใหญ่ การรถไฟแห่งประเทศไทย การระบาดทั่วของโควิด-19

แหล่งที่มา

WikiPedia: การครุ่นคิด_(จิตวิทยา) http://www.springerlink.com/content/n172473335188k... http://www.psy.miami.edu/faculty/jjoormann/publica... http://www.csom.umn.edu/assets/166704.pdf //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/3562707 http://drsonja.net/wp-content/themes/drsonja/paper... //doi.org/10.1002%2F(sici)1099-0879(199905)6:2%3C1... //doi.org/10.1016%2F0005-7967(83)90121-3 //doi.org/10.1016%2Fj.beth.2006.01.002 //doi.org/10.1016%2Fj.beth.2006.03.003 //doi.org/10.1016%2Fj.beth.2011.11.002